5. เทคนิควิธีการเคลือบหลุมและร่องฟันด้วยเรซิน
          - ชนิดฉายแสง
          - ชนิดไม่ฉายแสง
1. เทคนิควิธีการเคลือบหลุมและร่องฟันด้วยเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสง
     การเคลือบหลุมและร่องฟันด้วยเรซินชนิดแข็งตัวด้วยแสง มีวิธีการทำดังนี้
           1. คัดเลือกฟัน
           2. การเตรียมฟันด้วยการทำความสะอาดฟัน
           3. การกั้นน้ำลายด้วยม้วนสำลี
           4. การปรับสภาพผิวเคลือบฟันด้วยกรด
           5. ล้างกรดออกด้วยน้ำให้สะอาด
           6. เป่าฟันให้แห้งอย่างน้อย 10 วินาที
           7. ทาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบนตัวฟัน
           8. ฉายแสงเพื่อให้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันแข็งตัว
           9. ตรวจเช็คสภาพการเกาะติดของวัสดุเคลือบร่องฟัน และเช็คการสบฟัน

1. คัดเลือกฟันตามข้อบ่งชี้
         คัดเลือกฟันที่จะทำตามข้อบ่งชี้ (บทเรียนหัวข้อที่ 2 )

2. การเตรียมฟันด้วยการทำความสะอาดฟัน  Click   
          ทำความสะอาดฟันที่จะเคลือบด้วยผงขัดที่ไม่มีฟลูออไรด์หรือน้ำมันในส่วนประกอบ (pumice) ผสมกับน้ำ โดยใช้หัวขัดยาง (rubber cup) Click หรือหัวแปรง (rubber brush) Clickด้วยความเร็วช้าตามหลุมและร่องฟันเพื่อขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกให้ทั่วทั้งซี่ฟัน แล้วล้างฟันให้สะอาดด้วยการพ่นน้ำและลม ใช้เครื่องมือตรวจฟันผุ (explorer) เขี่ยตามหลุมและร่องฟันเพื่อนำผงขัด และแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่อาจติดอยู่ตามหลุมและร่องฟันออกแล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้ง Clickหากมีเศษผงขัดที่หลงเหลืออยู่จะขัดขวางการปรับสภาพผิวเคลือบฟันด้วยกรด

3. การกั้นน้ำลายด้วยม้วนสำลี Click
          หลังจากเตรียมฟันให้สะอาดและล้างน้ำแล้ว กั้นน้ำลายด้วยม้วนสำลีทั้งด้าน buccal และ lingual ในฟันล่าง Clickส่วนในฟันบนให้กั้นน้ำลายเฉพาะด้าน buccal และใช้หัวเป่าลมเป่าฟันให้แห้ง ในกรณีที่กั้นน้ำลายได้ยาก ควรใช้แผ่นยางกั้นน้ำลาย โดยใส่แผ่นยางกั้นน้ำลายก่อนการขัดฟัน นอกจากนั้นเครื่องช่วยในการกั้นน้ำลายที่จำเป็นในขั้นตอนนี้คือหัวดูดน้ำลาย ทั้งชนิดที่มีความเร็วสูง (high power suction) และหัวดูดน้ำลายชนิดความเร็วต่ำ

4. การปรับสภาพผิวเคลือบฟันด้วยกรด Click
          ปรับสภาพผิวเคลือบฟันด้วยกรด โดยกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) หรือกรดออโธฟอสฟอริก (orthophosphoric acid) 35-50% ขึ้นกับบริษัทผู้ผลิต หยดกรดลงไปในถาดหลุมที่มาพร้อมกับชุดเคลือบฟัน Clickปริมาณของกรดที่บีบออกมาให้พอดีกับจำนวนฟันที่จะทา การทากรดอาจใช้สำลีก้อนเล็กๆ ฟองน้ำ หรือพู่กันก็ได้ ทากรดประมาณ 2/3 ของระยะทางจากร่องฟันถึงยอดของฟันโดยวิธีถูไปมาเบาๆ การถูอย่างแรงอาจทำให้ enamel rod แตกหัก ใช้เครื่องมือตรวจฟันผุ หรือ dycal carrier เขี่ยเบาๆ ไปตามหลุมร่องฟันเพื่อนำกรดให้ไหลลงไปตามหลุมร่องลึก ( ระวังอย่าใช้เครื่องมือตรวจฟันผุไปขูดเคลือบฟันให้แตกออก)ใช้เวลาทากรดประมาณ 15-30 วินาที ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้ Click

5. ล้างกรดออกด้วยน้ำให้สะอาด Click
          ล้างกรดออกด้วยน้ำให้สะอาดประมาณ 20-40 วินาที (ถ้าเป็นกรดชนิดเจล จะใช้เวลาล้างนานกว่า) Clickการใช้เครื่องดูดน้ำลายควรใช้ทั้งชนิดที่มีความเร็วสูง (high power suction) และหัวดูดน้ำลายชนิดความเร็วต่ำ โดยวางเครื่องดูดน้ำลายทางด้าน distal ของฟันเพื่อดูดน้ำได้ทันทีไม่ให้น้ำลงคอ เปลี่ยนม้วนสำลีใหม่หลังจากล้างน้ำ วิธีทำให้นำสำลีก้อนใหม่มาวางบนสำลีเปียกก่อนแล้ว จึงค่อยๆ เอาก้อนสำลีที่เปียกข้างใต้ออก ถ้าสำลีเปียกมากและอุ้มน้ำลาย

6. เป่าฟันให้แห้งอย่างน้อย 10 วินาที  Click
          เป่าฟันให้แห้งอย่างน้อย 10 วินาที ฟันที่ถูกกรดกัดเมื่อเป่าแห้งจะมีลักษณะขุ่นขาว ไม่เป็นมัน (Frosty white) ขณะเป่าฟันต้องระวังไม่ให้มีการปนเปื้อนของน้ำมันจากเครื่องเป่าลม (Air syringe)   ขั้นตอนนี้ต้องระวังไม่ให้มีการสัมผัสกับน้ำลาย หากสัมผัสกับน้ำลายให้ใช้กรดกัดใหม่อีกครั้งโดยใช้เวลา 10 วินาที

7. ทาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบนตัวฟัน Click
         เตรียมหยดวัสดุลงในถาดหลุมที่มาพร้อมกับชุดเคลือบฟัน Click , Click
         เครื่องมือที่ใช้ทาอาจเป็น หลอดพลาสติก( Disposable tube) ซึ่งต้องใส่เข้าไปใน applicator หรืออาจเป็นพู่กัน ขึ้นกับบริษัทผู้ผลิต ทาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันให้ทั่วหลุมและร่องฟัน ในฟันบนต้องคลุมถึง lingual groove ในฟันล่างให้คลุมถึง buccal groove และ/หรือ buccal pit ด้วย อาจใช้เครื่องมือตรวจฟัน หรือ dycal carrier เป็นตัวนำวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันให้ไหลไปตามหลุมร่องฟันจนทั่ว

8. ฉายแสงเพื่อให้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันแข็งตัว Click
          ฉายแสงบนด้านบดเคี้ยวรวมทั้งด้าน buccal และ lingual ด้วย เพื่อให้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันแข็งตัว โดยวางหลอดนำแสงในลักษณะตั้งฉากกับตัวฟันบริเวณที่ต้องการ ให้ห่างจากตัวฟันประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เวลาที่ใช้ฉายแสงใช้ด้านละ 20-40 วินาที ( ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต) ตรวจดูว่าวัสดุแข็งหรือไม่โดยใช้เครื่องมือตรวจฟันผุ
หลังจากวัสดุเคลือบร่องฟันแข็งตัวแล้วให้ใช้สำลีก้อนเล็กๆชุบน้ำ เช็ดบนผิวเคลือบร่องฟันหรืออย่างน้อยใช้น้ำฉีดล้างผิวเคลือบร่องฟันเพื่อกำจัดบริเวณที่มีวัสดุที่ไม่แข็งตัว ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดรสขมแล้ว ยังเป็นการลดการเป็นพิษของวัสดุอีกด้วย

9. ตรวจเช็คสภาพการเกาะติดของวัสดุเคลือบร่องฟัน Click และเช็คการสบฟัน Click
          ใช้เครื่องมือตรวจฟันตรวจตามขอบว่าวัสดุเคลือบร่องฟันแนบสนิทกับตัวฟัน และครอบคลุมทุกๆ ร่องและหลุมฟันหรือไม่ link Tool10A ( ถ้าหลุดต้องเริ่มทำใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนขัดฟัน) เคลือบร่องฟันที่ดีควรต้องมีขอบเรียบและไม่มีฟองอากาศ     
           ตรวจดูว่ามีวัสดุเคลือบร่องฟันมีลักษณะหนาบนด้าน distal ของตัวฟันหรือไหลไปด้านข้างของฟันทำให้เกิดขอบแหลมหรือไม่ ถ้ามีให้กรอออก
          ตรวจเช็คการสบฟันด้วยกระดาษสีคาร์บอน Click กรอแก้สูงในกรณีที่เคลือบร่องฟันติดสี วัสดุเคลือบร่องฟันที่มีฟิลเลอร์ จำเป็นต้องกรอแต่งก่อนให้ผู้ป่วยกลับส่วนวัสดุเคลือบร่องฟันชนิดไม่มีฟิลเลอร์ส่วนที่เกินหรือสูงจะสึกได้รวดเร็ว และกลับสู่ตำแหน่งปกติประมาณ 2-3 วัน
          ตรวจเช็คดูว่ามีวัสดุเคลือบร่องฟันเกินบริเวณด้านประชิดหรือไม่โดยใช้ เครื่องมือตรวจฟันเขี่ย หรือใช้ไหมขัดฟัน (Dental floss) ผ่านบริเวณซอกฟัน

2. เทคนิคการเคลือบหลุมและร่องฟันด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่แข็งตัวด้วยตัวเอง
    การเคลือบหลุมและร่องฟันด้วยเรซินชนิดแข็งตัวด้วยตัวเอง
มีวิธีการทำดังนี้
           - การเตรียมฟันด้วยการทำความสะอาดฟัน
           - การกั้นน้ำลายด้วยม้วนสำลี
           - การปรับสภาพผิวเคลือบฟันด้วยกรด
           - ล้างกรดออกด้วยน้ำให้สะอาด
           - เป่าฟันให้แห้งอย่างน้อย 10 วินาที
           - ผสมวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
           - นำวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผสมแล้วทาลงบนตัวฟัน
     หลังจากขั้นตอนเป่าลมให้แห้ง และฟันมีสีขาวขุ่นแล้ว บีบส่วนของ base 1 หยด และ catalyst 1 หยดลงไปในถาดหลุม
ผสมเบาๆ ให้ทั่ว อย่าใช้วิธีกวนแรงๆ เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ นำวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทาลงบนตัวฟัน เนื่องจากปฏิกิริยาการแข็งตัวของวัสดุจะเริ่มขึ้นตั้งแต่การผสม base และ catalyst จึงต้องนำวัสดุทาบนตัวฟันอย่างรวดเร็วก่อนที่จะเริ่มแข็งตัว วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันจะแข็งตัวภายใน 1-2 นาที ตรวจว่าสารแข็งตัวหรือไม่จากวัสดุที่เหลือในถาดหลุม เนื่องจากการแข็งตัวของวัสดุจะใช้เวลานานมากกว่าวัสดุที่แข็งตัวด้วยแสง จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่งอย่าให้มีการปนเปื้อนของน้ำลาย

 

 











 
   
   
   
   
   
rongscd@yahoo.com : Webmaster : Creater