6 การติดตามผล

         ความสำเร็จของการเคลือบหลุมร่องฟัน คือการที่วัสดุสามารถป้องกันฟันผุแก่ฟันซี่ดังกล่าวได้  อย่างไรก็ตามการติดตามการ
เกิดฟันผุมักใช้เวลานาน โดยทั่วไปการติดตามผลความสำเร็จของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันจึงมักใช้การตรวจวัดยึดติดของวัสดุเคลือบ
หลุมร่องฟันเมื่อเวลาผ่านไปร่วมกับการเกิดฟันผุหากมีการหลุดไปของวัสดุแทน

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิธีการตรวจ

 

โดยใช้สายตา ร่วมกับความรู้สึก (Visual-Tactile method) ดังนี้
    - ทำความสะอาดฟัน โดยใช้ explorer เขี่ย และม้วนสำลีเช็ดให้ฟันสะอาด
    - เป่าฟันให้แห้ง
    - ใช้สายตาและความรู้สึกจาก explorer ลากผ่าน

 
      - ตรวจดูว่าวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันยังคงอยู่ที่บริเวณผิวฟัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งและขอบเขตที่ตรวจวัด ( Location of Measurement)

     - ตำแหน่ง ( Sites)
   - ด้านบดเคี้ยว ร่วมกับ ด้านแก้มหรือด้านลิ้น (O vs O+B/Li)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เกณฑ์ในการตรวจการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน

 

1. คงอยู่สมบูรณ์ (Complete retention)
    กรณีที่มีวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันปิดทับส่วนของหลุมและร่องฟันหลักอยู่ทั้งหมด และไม่พบหลุมและร่องฟันที่มีลักษณะลึก

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

2. หายไปบางส่วน (Partial loss)
    กรณีที่มีวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันปิดทับส่วนของหลุมและร่องฟันบางส่วนและตรวจพบหลุมและร่องฟันที่มีลักษณะลึกร่วมด้วย

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

3. หายไปทั้งหมด (Complete loss)
     กรณีที่ไม่มีวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันปิดทับส่วนของหลุมร่องฟันเลย

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความแม่นยำของการตรวจการยึดติด
            ความแม่นยำของการตรวจการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันจะขึ้นกับสีของวัสดุด้วยว่าเป็นวัสดุชนิดขุ่นหรือชนิดใส
      โดยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดสีขุ่นจะให้การตรวจที่แม่นยำกว่าชนิดใส

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะการเคลือบหลุมและร่องฟันที่ดี

 

การเคลือบหลุมร่องฟันที่ประสบความสำเร็จควรมีลักษณะดังนี้
      1. ยึดติดแน่นทั้งทั้งด้านบดเคี้ยวและด้านแก้ม / ด้านลิ้น
      2. ครอบคลุมหลุมและร่องฟันทั้งหมด
      3. วัสดุเรียบและไม่มีรูพรุน

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          อย่างไรก็ตาม ต้องมีการติดตามผลเป็นระยะๆ ทั้งการตรวจทางคลินิกและภาพรังสีชนิด กัด (bite-wing radiograph)
  เพื่อตรวจดูการผุทางด้านข้าง (proximal caries)
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 

ถ้าพบว่าวัสดุหลุดแม้เพียงบางส่วนก็ต้องทำซ้ำ และหากพบเกิดการผุต้องบูรณะ

 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
     







 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
















































 
   
   
   
   
   
rongscd@yahoo.com : Webmaster : Creater