3. ชนิดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายชนิดตามคุณสมบัติของวัสดุ อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตาม
ชนิดของวัสดุที่ใช้จะสามารถแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ (Welbury และคณะ 2004 ) ได้แก่
1. วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซิน ( Resin sealant) แบ่งเป็น ชนิดเกิดปฏิกิริยาด้วยสารเคมี (Chemical cured)
และ ชนิดเกิดปฏิกิริยาด้วยแสง (Light cured)
2. วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดแก้วไอออโนเมอร์ (Glass ionomer sealant)
3. วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน คอมโพเมอร์ (Compomer)
4. วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดมีฟลูออไรด์ (Fluoride containing sealant)
แล้วจะเลือกชนิดใดดี
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ชนิดที่เป็นที่นิยมสูงสุดคือ วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซิน เนื่องจาก มีความสำเร็จสูง
ทั้งชนิดแข็งตัวปฏิกิริยาด้วยสารเคมี (Chemical cured) และ ชนิดเกิดปฏิกิริยาด้วยแสง (Light cured) โดยมีรายงานการ
ศึกษาทางคลินิกระยะยาวจำนวนมากที่สนับสนุน ส่วนวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันประเภทอื่นๆ ยังมีการยึดติดต่ำหรือขาดการศึกษา
รองรับจึงยังไม่แนะนำให้ใช้
ชนิดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซิน (Resin )
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ชนิด เรซินมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ เช่น แบ่งตาม
ตามปฏิกิริยาการแข็งตัว (Polymerization) แบ่งตามชนิดและองค์ประกอบของวัสดุ (Composition) แบ่งตามการปลดปล่อย
ฟลูออไรด์ของวัสดุ (Fluoride release) แบ่งตามสีของวัสดุ (Color) เป็นต้น
1. แบ่งตามปฏิกิริยาการแข็งตัว (Polymerization)
ก . ชนิดแข็งตัวจากปฏิกิริยาด้วยสารเคมี (self cured หรือ chemically cured sealant) ซึ่งประกอบด้วยสารเคมี 2 ส่วน
คือเบส (Base) และ ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) นำมาผสมกัน แล้วเกิดปฎิกิริยาแข็งตัว ภายในเวลาไม่เกิน 4-5 นาที

วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ชนิด self cured มีข้อดีคือไม่ต้องการเครื่องฉายแสง (Light curing unit) ทำให้สะดวกในการ
ใช้ออกหน่วยชุมชน ส่วนข้อเสียคือ จะใช้เวลาในการแข็งตัวประมาณ 1-2 นาที ซึ่งช้ากว่าวัสดุชนิด light cured ซึ่งใช้เวลาใน
การแข็งตัวประมาณ 20-40 วินาที ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนของน้ำลายได้มากกว่า นอกจากนี้ในการทาวัสดุลงบนฟันจะต้องทำ
ด้วยความรวดเร็วก่อนที่วัสดุจะแข็งตัว เนื่องจากหากวัสดุเริ่มแข็งตัววัสดุจะไม่สามารถไหลแผ่เข้าไปในผิวฟันที่ได้รับการปรับ
สภาพด้วยกรดได้ ทำให้จำนวนและความลึกของ tag ลดลง มีผลต่อการยึดติดและประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ
ข . ชนิดแข็งตัวจากการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาด้วยแสง (visible light cured sealant) ปฎิกิริยาแข็งตัวเกิดโดยใช้แสง
ที่มองเห็นได้ ซึ่งเป็นแสงสีฟ้าความยาวคลื่น 450470 นาโนเมตร

2. แบ่งตามการใส่วัสดุอัดแทรก
ก. ชนิดที่ไม่มีวัสดุอัดแทรก (unfilled sealant) สามารถสึกได้จากการบดเคี้ยว
ข. ชนิดที่มีวัสดุอัดแทรก (filled sealant) วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันอาจมีการเติมวัสดุอัดแทรกในปริมาณร้อยละ 1550
โดยน้ำหนัก เพื่อให้มีความแข็งแรงของวัสดุมากขึ้น การหดตัวและการดูดซึมน้ำน้อยลง แต่ขณะเดียวกันก็จะมีผลทำให้ความหนืด
สูงขึ้น (high viscosity) และอาจมีผลให้การแทรกซึมและการไหลแผ่ลดน้อยลง มักไม่สึกจากการบดเคี้ยว จึงจำเป็นต้องตรวจ
สอบการสบฟันและแก้ไขจุดสูงภายหลังการทำทุกครั้ง
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทั้ง 2 ชนิดนี้ให้ผลในการป้องกันฟันผุบนด้านบดเคี้ยวได้ไม่ต่างกัน

3. แบ่งตามสี
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันอาจมีทั้งชนิดใส (clear) หรือมีสีต่างๆ สีที่นิยมคือสีขาวขุ่น (opaque) หรือสีเหมือน
ฟัน (A2-Vita shade)
- ชนิดไม่มีสี (clear sealant) ข้อดีของวัสดุสีใสคือ สวยงาม มองเห็นการผุใต้วัสดุได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ เมื่อมีการหลุดจะ
ตรวจได้ยาก ต้องได้รับการตรวจโดยใช้เครื่องมือตรวจฟัน (explorer)
- ชนิดมีสี (tinted sealant) สำหรับวัสดุมีสีหรือสีขาวขุ่น มีข้อดีคือทำได้ง่าย เพราะเห็นขอบเขตชัดเจนและตรวจสอบการ
หลุดหรือการยึดติดได้ชัดเจน แต่ถ้ามีการผุใต้วัสดุจะมองเห็นได้ยาก จำเป็นต้องใช้ภาพรังสีในการตรวจสอบว่ามีการผุใต้
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันหรือไม่
4. ชนิดของเรซินหลักที่ใช้
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันอาจแบ่งตามชนิดของเรซินหลักว่าเป็น บิสจีเอ็มเอ หรือ ยูดีเอ็มเอ วัสดุที่ผลิตมาจำหน่าย บางยี่ห้อจะ
ใส่สารเรซินทั้ง 2 ชนิดรวมกัน
5. ชนิดมีฟลูออไรด์และไม่มีฟลูออไรด์
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันแบ่งตามการปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้เป็น 2 แบบคือ
- ชนิดไม่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ (Non-fluoride releasing sealant) ได้แก่ วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิด
เรซินแบบดั้งเดิม
- ชนิดสามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ (Fluoride releasing sealant) ได้แก่วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซิน
แบบดัดแปลง
วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันหลายชนิดที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังจะมีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบเพื่อให้สามารถปลดปล่อย
ฟลูออไรด์เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ฟัน โดยการเติมโซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) หรือ อะลูมิโนซิลิเกตกลาส (Aluminosilicate
glass) เข้าไปในส่วนประกอบของเรซิน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยที่สรุปได้แน่ชัดว่าปริมาณการปลดปล่อยฟลูออไรด์
จากวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเหล่านี้มีผลป้องกันการผุได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
ชนิดไม่มีฟลูออไรด์
|