ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการเคลือบหลุมและร่องฟัน
การเคลือบหลุมและร่องฟันเพื่อการป้องกันฟันผุนั้น เราไม่จำเป็นต้องทำในฟันทุกซี่หรือทุกหลุมและร่องฟัน เนื่องจากการเคลือบ
หลุมและร่องฟันมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรจะเลือกทำในหลุมและร่องฟันที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง
ด้วยวิธีนี้จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสูงสุด (Cost and time effectiveness) อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สงสัย หรือไม่แน่ใจ ในโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุของฟัน สามารถเคลือบหลุมและร่องฟันในฟันซี่นั้น เพราะการเคลือบหลุมและร่องฟันไม่ก่อให้เกิด
ผลเสียใดๆ ทั้งต่อฟันและต่อผู้ป่วย การพิจารณาทำเคลือบหลุมและร่องฟันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรพิจารณาจากทั้ง สภาพผู้ป่วย และ
สภาพฟันร่วมกัน และผู้ป่วยที่พิจารณาว่าควรได้รับการเคลือบหลุมและร่องฟันควรได้รับมาตรการป้องกันฟันผุอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อป้อง
กันฟันผุที่ด้านประชิด และควรเป็นผู้ที่สามารถกลับมารับการตรวจฟันเป็นประจำได้ เพื่อตรวจการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
และทำซ้ำหากมีการหลุดไป
1. การพิจารณาจากสภาพผู้ป่วย
1.1 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุด้านหลุมและร่องฟัน เช่น มีการผุหรืออุดบนด้านหลุมและร่องฟัน
หรือพฤติกรรมการบริโภคทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการป้องกันด้วยการทำเคลือบหลุมและร่องฟัน
1.2 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดฟันผุ เช่น ผู้ที่มีโรคทางระบบ ผู้ที่ได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณใบหน้า
หรือผู้ป่วยเด็กพิเศษ ซึ่งกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการทำความสะอาดช่องปากและในการให้การรักษาทางทันตกรรม
1.3 ความสามารถในการให้ร่วมมือของผู้ป่วย
ความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จของการเคลือบหลุมและร่องฟันเนื่องจากขั้นตอนการเคลือบ
หลุมและร่องฟันต้องระวังการปนเปื้อนของน้ำลายและน้ำเป็นอย่างมาก
2. การพิจารณาจากสภาพฟัน
2.1 ลักษณะของหลุมและร่องฟัน พิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันเพื่อการป้องกันฟันผุในฟันซี่ที่มีลักษณะของหลุมและร่อง
ฟันเสี่ยงต่อการผุมากได้แก่ ฟันที่มีหลุมและร่องฟันแคบและลึก ส่วนฟันที่มีลักษณะของหลุมและร่องฟันเสี่ยงต่อการเกิดการผุน้อย
คือมีหลุมและร่องฟันกว้างและตื้น อาจไม่มีความจำเป็นต้องเคลือบหลุมและร่องฟัน
ภาพฟันที่มีหลุมและร่องฟันแคบและลึก ถ้าไม่เคลือบอาจเกิดการผุบริเวณหลุมร่องได้
2.2 ระยะเวลาที่ฟันขึ้นมาในช่องปาก การผุด้านบดเคี้ยวพบได้มากในช่วง 3-4 ปีแรกหลังจากฟันขึ้น จึงเป็นช่วงที่ควรจะ
ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการป้องกันการผุบนด้านบดเคี้ยว อย่างไรก็ดี มีการศึกษาพบว่า ระยะเวลาที่ฟันอยู่ในช่องปาก
ไม่มีผลต่อการเพิ่ม หรือลดความเสี่ยงในการเกิดการผุบนด้านบดเคี้ยว นอกจากนี้ ยังพบว่าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ยังมีอัตรา
การเกิดฟันผุบนด้านบดเคี้ยวสูง ดังนั้น การป้องกันฟันผุบนด้านบดเคี้ยวจึงต้องประเมินความเสี่ยงในการเกิดการผุของฟันซี่นั้นๆ
หรือผู้ป่วยคนนั้นๆ ประกอบด้วย ไม่ใช่ประเมินจากอายุการขึ้นของฟันหรืออายุผู้ป่วยแต่เพียงอย่างเดียว
2.3 ระดับการขึ้นของฟัน พิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันในกรณีที่ระดับการขึ้นของฟันนั้นเอื้ออำนวยให้สามารถกันน้ำ
ลายได้ เนื่องด้วยความสำเร็จในการเคลือบหลุมและร่องฟัน ขึ้นกับความสามารถในการป้องกันการปนเปื้อนของน้ำลาย

ภาพ ฟัน partial erupt
2.4 การผุบนด้านบดเคี้ยวของฟัน พิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันในกรณีที่ยังไม่พบการผุที่บริเวณหลุมและร่องฟัน
หรือพบการผุในระยะเริ่มแรกเฉพาะชั้นผิวเคลือบฟัน (Incipient caries or Enamel caries) เท่านั้น
ไม่พิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันในกรณีที่พบการผุที่บริเวณหลุมและร่องฟันลึกถึงชั้นเนื้อฟัน (Dentin caries)
กรณีพบการผุบนด้านบดเคี้ยวของฟันกรามซี่ใดซี่หนึ่งก็ควรเคลือบหลุมและร่องฟันในฟันกรามซี่อื่นๆ ที่ยังไม่ผุด้วย

ภาพฟันผุที่บริเวณหลุมและร่องฟันเฉพาะชั้นผิวเคลือบฟัน ภาพฟันผุลึกถึงชั้นเนื้อฟัน
2.5 การผุบนด้านประชิดของฟัน ไม่พิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันในฟันซี่มีการผุที่ด้านประชิด
2.6 ระยะเวลาที่ฟันจะอยู่ในช่องปาก ไม่ควรเคลือบหลุมและร่องฟันในฟันน้ำนมที่จะอยู่ในช่องปากอีกไม่นาน
ข้อพิจารณาในการจัดทำโครงการเคลือบหลุมและร่องฟันในชุมชน (Community–base program)
การพิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันในชุมชน ควรดำเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชน โดยคำนึงถึงงบ
ประมาณที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น การจัดทำโครงการเคลือบหลุมและร่องฟันในชุมชนควรกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
โดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้โดยลำดับ
1. ความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของกลุ่มประชาชนในชุมชน
เลือกทำเคลือบหลุมและร่องฟัน ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุที่หลุม และร่องฟันสูงก่อนเพื่อให้เกิดประ
โยชน์สูงสุด เช่น ชุมชนที่มีเด็กมากๆ อาจพิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟัน ในกลุ่มประชากรเด็กที่มีอัตราการเกิดฟันผุที่หลุมและ
ร่องฟันสูงกลุ่มประชากรเด็กที่มีอัตราการอุดที่หลุมและร่องฟันสูง กลุ่มประชากรเด็กที่มีค่าฟันผุถอนอุดสูง หากไม่สามารถสำรวจ
ได้โดยตรง อาจพิจารณาความเสี่ยงจากปัจจัยทางอ้อม เช่นกลุ่มเด็กที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อย กลุ่มเด็กที่อยู่ห่างไกลและมีโอกาสน้อย
ที่จะเข้าถึงบริการทางทันตสาธารณสุข เป็นต้น หากมีงบประมาณมากพอ จึงขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง
ในการเกิดฟันผุปานกลางและน้อย ตามลำดับต่อไป
2. ความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของฟันแต่ละซี่
ฟันกรามแท้มีความเสี่ยงต่อการผุบริเวณหลุมและร่องฟัน มากกว่าฟันกรามน้อยและฟันกรามน้ำนม ซึ่งเป็นผลเนื่อง
มาจากลักษณะทางกายภาพของด้านบดเคี้ยวของฟัน ดังนั้น ฟันกรามแท้จึงควรได้รับการพิจารณาให้เป็นกลุ่มเป้าหมายแรกใน
การจัดทำโครงการเคลือบหลุมและร่องฟันในชุมชน หากมีงบประมาณเพียงพอจึงขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังฟันกรามน้อยและ
ฟันกรามน้ำนมต่อไป
3. อายุที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุด้านหลุมและร่องฟันของฟันซี่นั้นๆ
อายุที่เหมาะสมในการทำโครงการเคลือบหลุมและร่องฟันในชุมชนเมื่อพิจารณาจากอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุด้าน
หลุมและร่องฟันของฟันแต่ละซี่ พบว่า
- ฟันกรามแท้ซี่แรก กลุ่มเป้าหมายคือเด็กอายุระหว่าง 6-8 ปี
- ฟันกรามแท้ซี่ที่สอง กลุ่มเป้าหมายคือเด็กอายุระหว่าง 11-13 ปี
- ฟันกรามน้อย กลุ่มเป้าหมายคือเด็กอายุระหว่าง 11-13 ปี
- ฟันกรามน้ำนม กลุ่มเป้าหมายคือเด็กอายุระหว่าง 3-4 ปี
4. ลักษณะทางกายภาพของหลุมและร่องฟัน
ในการคัดกรองซี่ฟันเพื่อจะพิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟัน ให้พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพของหลุมและร่องฟัน
และการผุที่ด้านประชิดของฟันซี่นั้นๆ กล่าวคือ พิจารณาเคลือบหลุมและร่องฟันในฟันซี่ที่มีลักษณะของหลุมและร่องฟัน
เสี่ยงต่อการเกิดการผุ คือมีหลุมและร่องฟันที่ลึกและแคบ และไม่มีการผุที่บริเวณด้านประชิดของฟัน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปข้อบ่งชี้ในการเคลือบหลุมและร่องฟัน
- ฟันไม่ผุ หลุมและร่องฟันลึก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
- ฟันขึ้นพ้นเหงือกแล้ว (B pit)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
- ฟันมีหลุมและร่องฟันลึก ติดคราบสี
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
- หลุมและร่องฟันลึกด้านลิ้นของฟันหน้า
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
- ฟันน้ำนมที่มีหลุมและร่องฟันลึก
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อใดไม่ทำ?
ฟันผุตามหลุมและร่องฟัน (Dentin caries)
 
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในกรณีที่ฟันยังขึ้นไม่เต็มซี่ ถ้ารอได้ ให้รอจนกว่าฟันขึ้นเต็มที่ก่อน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
|