หลักการและแนวคิดในการเคลือบหลุมร่องฟัน
1. การเกิดฟันผุ
             โรคฟันผุเป็นโรคทางทันตสาธารณสุขที่พบบ่อยที่สุด จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา พบว่า
   เด็กไทยในกลุ่มอายุ 12 ปี มีอัตราการเกิดฟันผุในฟันแท้เพิ่มขึ้นในทุกครั้งของการสำรวจ โดยมีการผุร้อยละ 45.8 ในปีพ.ศ. 2537
   และเพิ่มเป็นร้อยละ 57.3 ในปีพ.ศ. 2543โดยพบว่าด้านบดเคี้ยวของฟันกรามแท้เป็นด้านที่มีการผุมากที่สุด
 
             
                      เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะด้านบดเคี้ยว (occlusal surface) มีลักษณะที่มีหลุมและร่องฟันลึก ทำให้เป็นแหล่งสะสมของ
             แผ่นคราบจุลินทรีย์ (dental plaque) ทำความสะอาดได้ยาก บางครั้งพบว่าหลุมร่องฟันลึกและแคบมาก จนขนแปรงสีฟัน
             ไม่สามารถทำความสะอาดได้ นอกจากนี้ผิวเคลือบฟันที่อยู่ในหลุมและร่องฟันมักจะบาง ทำให้เมื่อเกิดการผุขึ้นจะลุกลามไปยัง
             เนื้อฟันได้อย่างรวดเร็ว
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

         2. สาเหตุของโรคฟันผุ
               โรคฟันผุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ฟัน เชื้อจุลินทรีย์ และ อาหาร
             

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          3. ผลเสียที่เกิดจากฟันผุ
                    โรคฟันผุนำไปสู่ผลเสียตามมามากมาย ทั้งต่อตัวเด็กเองและผู้ปกครอง  โดยเด็กอาจมีอาการไม่สบาย เจ็บปวด เคี้ยว
               อาหารไม่ได้ นำไปสู่การขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้หากเด็กมีภูมิต้านทานต่ำลงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เด็กต้องขาด
               โรงเรียน และหากไม่ได้รับการรักษาต้องถอนฟันไปก็อาจทำให้ฟันเกหรือมีการสบฟันที่ผิดปกติ มีผลต่อสภาพจิตใจเด็ก
               ส่วนผลเสียต่อผู้ปกครองคือทำให้ผู้ปกครองต้องขาดงานเพื่อพาบุตรหลานมาทำฟันหลายๆ ครั้ง ต้องขาดรายได้และ
               เพิ่มค่าใช้จ่ายอีกด้วย
              
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          4. มาตรการป้องกันฟันผุ
             
              การป้องกันฟันผุสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่
                  1. การทำความสะอาดช่องปาก
                  2. การใช้ฟลูออไรด์
                  3. การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
                  4. การเคลือบหลุมร่องฟัน
                  5. การพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
             อย่างไรก็ตาม ฟลูออไรด์ สามารถลดฟันผุบนด้านเรียบได้สูง 70% แต่ ลดฟันผุบนด้านบดเคี้ยวได้เพียง 20%
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          5. ลักษณะหลุมร่องฟันและการผุบริเวณหลุมร่อง
             
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
           6. การเคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร
                การเคลือบหลุมร่องฟัน คือ  การใช้วัสดุปิดทับบริเวณหลุมและร่องฟันที่ลึก เพื่อให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและดีขึ้น
               
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
           7. ทำไมจึงต้องเคลือบหลุมร่องฟัน
                       เพราะหลุมและร่องฟันที่ลึกเป็นแหล่งสะสมของเชื้อจุลินทรีย์และอาหาร  และการทำความสะอาดบริเวณหลุมและ
              ร่องฟันที่ลึกทำได้ยาก ขนแปรงเข้าทำความสะอาดไม่ถึง
              
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
            8. วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างไร
                     1. เป็นสิ่งกีดขวางทางกายภาพโดยการป้องกัน  ไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์และอาหารซึ่งเป็นปัจจัยใน การเกิดฟันผุเข้าไป
                         บริเวณหลุมและร่องฟัน
                     2.  ทำให้หลุมและร่องฟันตื้นและมีพื้นผิวที่เรียบ ขึ้นทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
   
   
   
   
   
   
   
   























































 
   
   
   
   
   
rongscd@yahoo.com : Webmaster : Creater